โครงสร้างหัวข้อ
- General
- คนเก่ง องค์กรแกร่ง
คนเก่ง องค์กรแกร่ง
หนังสือ “คนเก่ง องค์กรแกร่ง” เล่มนี้ คุณไพนรินทร์ ไพธรรมโชติวัฒน์สามารถนำศาสตร์การบริหารสมัยใหม่มาประยุกต์กับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาสร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาองค์กรได้อย่างดีเยี่ยม และถ่ายทอดในลักษณะนิยายทำให้น่าติดตามเรื่องราวอ่านรวดเดียวจบด้วยความเพลิดเพลินพร้อมได้ความรู้อย่างดีไปด้วยเชื่อว่า “คนเก่ง องค์กรแกร่ง”จะเป็นเพชรเม็ดงามประดับไว้ในวงการนักบริหารองค์กร
พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ M.D., Ph.D.
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมกาย
แคลิฟอร์เนีย
- การพัฒนาเครื่องมือและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยตัวชี้วัดคุณธรรม 6 ภูมิภาค (กลุ่มคนไทยช่วงอายุ 25-40 ปี)
การพัฒนาเครื่องมือและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยตัวชี้วัดคุณธรรม 6 ภูมิภาค (กลุ่มคนไทยช่วงอายุ 25-40 ปี)
การพัฒนาเครื่องมือและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยตัวชี้วัดคุณธรรม 6 ภูมิภาค สำเร็จได้ด้วยพลังสนับสนุนจากหลายภาคส่วน ทั้งผู้ให้ทุนสนับสนุน ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ประสานงานการเก็บข้อมูล และกลุ่มเป้าหมาย
- รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2565
รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2565
รายงานสถานการณ์คุณธรรม ปี 2565 และประเด็นคุณธรรมสำหรับอนาคต (Situation Report on Morality in Thailand in 2022 and Moral Issues for the Futures) ได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมคุณธรรมบนฐานของความรู้และข้อมูล และมีบทบาทในการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมเกี่ยวกับการปลูกฝังคุณธรรมความดี และการสร้างเสริมพลังต้นทุนชีวิตในสังคมไทย
- การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม
การพัฒนาและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยดัชนีชี้วัดคุณธรรม
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ดำเนินงานส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง ประเด็นที่มีความสำคัญควบคู่กับการส่งเสริมคุณธรรม คือ การพัฒนาดัชนีชี้วัดคุณธรรม เพื่อเป็นเครื่องมือวัดผลความเปลี่ยนแปลงด้านคุณธรรมของคนไทยใน 5 มิติ คือ พอเพียง วินัย สุจริต จิตสาธารณะ และกตัญญู ซึ่งสอดคล้องกับแนวนโยบายต่าง ๆ
- การประชุมวิชาการคุณธรรมในพื้นที่ทางสังคม: จิตสาธารณะกับการขับเคลื่อนนวัตกรรมทำงสังคม
การประชุมวิชาการคุณธรรมในพื้นที่ทางสังคม: จิตสาธารณะกับการขับเคลื่อนนวัตกรรมทำงสังคม
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) จัดประชุมวิชาการคุณธรรมในพื้นที่ทางสังคม มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 โดยมีวัตถุประสงค์ให้งานประชุมวิชาการนี้เป็นการสร้างพื้นที่ความรู้ (Knowledge space) ของการส่งเสริมคุณธรรมที่มาจากการแลกเปลี่ยนแนวคิด ทฤษฎี และปฏิบัติการจริงในพื้นที่ทางสังคมรูปแบบต่าง ๆ
ประเด็นการจัดงานประชุมวิชาการคุณธรรมในพื้นที่ทางสังคมในแต่ละครั้ง เป็นการหยิบยกประเด็นจากรายงานสถานการณ์คุณธรรมมาสร้างพื้นที่ของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเสนอทางเลือกของการพัฒนาสังคมในมิติคุณธรรม ทั้งในด้านวิชาการและด้านปฏิบัติการ
- อยู่รอด ตั้งรับ ปรับตัว หลังวิกฤตโควิด-19 : สถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ปี 2564
- องค์ความรู้ การจัดงานแฮกกาธอน
องค์ความรู้ การจัดงานแฮกกาธอน
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ได้เล็งเห็นความสำคัญต่อการส่งเสริมคุณธรรมในสังคมไทย และเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและดิจิทัล ศูนย์คุณธรรมจึงได้จัดทำองค์ความรู้ชุด Moral Hackathon : แฮกไอเดีย สร้างนวัตกรรมทางสังคม ซึ่งเป็นคู่มือการจัดงานแฮกกาธอน (Moral Hackathon) เพื่อให้องค์กร / หน่วยงานที่สนใจการออกแบบบนวัตกรรมทางสังคม ได้เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนของการจัดงานแฮกกาธอน และเกิดการสนับสนุนให้เด็กเยาวชน และคนรุ่นใหม่ได้ออกแบบพัฒนานวัตกรรมที่สร้างสรรค์ โดยนำแนวคิดคุณธรรมในวิถีชีวิตประจำวัน สอดแทรกเข้าไปในกระบวนการออกแบบไอเดีย พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ / บริการที่ตอบโจทย์สังคมสมัยใหม่ และเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สร้างความยั่งยืนได้นั้น ก็จำเป็นต้องประยุกต์แนวคิดเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เข้าไปเพื่อรองรับการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของทุกคนในทุกช่วงวัย
- คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ : Moral Development with Honey Bee Model
คุณธรรมที่คุณสัมผัสได้ : Moral Development with Honey Bee Model
ทิศทางของศูนย์คุณธรรมมีความสอดคล้องและเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ตััวชี้วัด และเป้าหมายของการส่งเสริมคุณธรรมของสังคมไทยตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการปรั บเปลี่ยนค่านิยมและวัฒนธรรมแผนปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุุณธรรมแห่งชาติระยะที่ 2 ในทุกระดับ โดย ศูนย์คุณธรรมจะมุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัยวิชาการ และนวัตกรรมการส่งเสริมคุณธรรม เพื่อนำไปใช้ขับเคลื่อนการส่่งเสริมคุณธรรมร่วมกับภาคีเครือข่ายทางสังคมทุกภาคส่วนที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศคุณธรรม เพื่อให้ “คุณธรรม” เป็็นพลังบวกที่สร้างคุณค่าร่วมในการพัฒนาสังคมไทยให้ยั่งยืนตามหลักการ Honey Bee Model ของศูนย์คุณธรรมต่อไป
- การศึกษาแนวคิดและความเป็นไปได้ ในการปรับใช้กลไกระบบเครดิตสังคม (Social credit)
การศึกษาแนวคิดและความเป็นไปได้ ในการปรับใช้กลไกระบบเครดิตสังคม (Social credit)
การขับเคลื่อน “เชียงราย เมืองคุณธรรม” (Chiang Rai Moral City) ภายใต้แนวคิด “ร่วมสร้างจิตสานึกดี สิ่งแวดล้อมดี มีวินัย ใส่ใจส่วนรวม สู่เชียงรายเมืองแห่งคุณธรรม สร้างสุขได้ด้วยความพอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสานาพาประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืน” ต้องใช้พลังขับเคลื่อนจากหลายภาคส่วน เพื่อช่วยกันผลักและ “สร้างบ้าน แปงเมือง” ด้วยต้นทุนด้านคุณธรรม ทุนทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม และทุนมนุษย์
- การศึกษาและพัฒนา โมเดลและกรณีศึกษาการจัดการความรู้ด้านคุณธรรมระดับพื้นที่
การศึกษาและพัฒนา โมเดลและกรณีศึกษาการจัดการความรู้ด้านคุณธรรมระดับพื้นที่
โครงการศึกษาและพัฒนาโมเดลและกรณีศึกษาการจัดการความรู้ด้านคุณธรรมระดับพื้นที่ มีเป้าหมายสำคัญในการสร้างโมเดลการจัดการความรู้ด้านคุณธรรมระดับพื้นที่ จากการสังเคราะห์ทฤษฎีการจัดการความรู้ รวมถึงวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) ในการดำเนินการจัดการความรู้ ทั้งในส่วนของภาคธุรกิจ ภาครัฐ และชุมชน รวมถึงกรณีศึกษาพื้นที่มีการดำเนินงานด้านการส่งเสริมคุณธรรม ซึ่งมีผลประจักษ์ชัด เพื่อให้มีรูปแบบ และแนวทางปฏิบัติให้ภาคีชาการในแต่ละพื้นที่ สามารถนำความรู้นี้ไปใช้ในการดำเนินการส่งเสริมคุณธรรมต่อไป
- รายงานโครงการวิจัยศึกษาและพัฒนาโมเดลการสร้างระบบนิเวศมนุษย์เพื่อขับเคลื่อนคุณธรรมในสังคมไทย
- องค์ความรู้ “คุณธรรมในการอยู่ร่วมกันของ ผู้คนในภูมิภาคอาเซียน”
องค์ความรู้ “คุณธรรมในการอยู่ร่วมกันของ ผู้คนในภูมิภาคอาเซียน”
ประเทศไทยตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมสร้างความเข้าใจและเชื่อมร้อยผู้คนในภูมิภาคอาเซียนเข้าไว้ด้วยกันในมิติคุณธรรม ดังปรากฏในแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2559-2564) ที่ระบุถึงการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประชาคมอาเซียน เพื่อส่งเสริมและเสริมสร้างคุณธรรมในการอยู่ร่วมกันและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ
ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ในฐานะที่เป็นองค์กรเชื่อมโยงประสานเครือข่ายทางสังคม และรณรงค์การขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสู่สังคมสันติสุข ได้กำหนดยุทธศาสตร์ส่งเสริมความร่วมมือด้านคุณธรรม จริยธรรมกับนานาชาติ โดยคุณธรรมการอยู่ร่วมของผู้คนในภูมิภาคอาเซียนเป็นประเด็นที่ให้ความสำคัญ และมีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องใน 3 รูปแบบ